เคล็ดลับการทานอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน

            สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำ  เคล็ดลับการทานอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน กันค่ะ เพราะว่าโรคนี้เองนั้นถือว่าเป็นภัยเงียบนะคะ เพราะว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีอาการอะไรเลย และยิ่งไม่มีอาการหรือว่าสัญญาณเตือนก็ยิ่งต้องระวังเลยค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปดูเคล็ดลับการทานอาหารที่ถูกต้อง แอดมินก็ต้องขอฝากให้ไปติดตาม ท้องผูกเรื้อรังควรทานอาหารอย่างไร กันด้วยนะคะ แล้วในวันนี้แอดมินก็ต้องขอขอบคุณ เบทฟิก ที่สนับสนุนบทความของเราในวันนี้ด้วยนะคะ

  เคล็ดลับการทานอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน ทานให้ถูกวิธีลดความเสี่ยง

            โรคนี้เจอได้ทั้งผู้หญิงแล้วก็ผู้ชายเลยนะคะ แต่ส่วนมากแล้วจะเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุที่เราจะสามารถพบเจอโรคนี้บ่อยๆก็จะซักประมาณ 50 ปีขึ้นไปค่ะ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มหมดประจำเดือนแล้วนั่นเองค่ะ อย่างผู้ชายเองก็สามารถเจอได้เหมือนกันนะคะ แต่อาการจะเกิดช้ากว่าผู้หญิงนิดนึง แต่ถ้าเราอยากจะตรวจแล้วอยากจะทราบแบบชัดเจน เราจะมีวิธีการวัดค่ะ ซึ่งเรียกว่าวิธีการวัดความหนาแน่น

ของมวลกระดูก วิธีการที่เป็นมาตรฐานก็คือการไปวัดที่โรงพยาบาล โดยเครื่องวัด ร่างกายของเราจะมีช่วงเวลาที่มวลกระดูกมากที่สุดก็คือช่วงอายุประมาณ 20-30 แล้วหลังจากนั้นจะค่อยๆคงที่ก่อน หลังจากนั้นก็จะค่อยๆลดลง ส่วนปัจจัยที่เสี่ยงของโรคกระดูกพรุนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ก็คือการขาดสารอาหาร เช่น แคลเซียมและวิตามินดี จะทำให้การสร้างของโครงสร้างโครงกระดูกลดลงนะคะ

และปัจจัยการขาดการออกกำลังกาย หรือว่ามียาบางอย่างเช่นสเตียรอยด์ คนไข้ที่มีข้ออักเสบเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น รูมาตอยด์ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน สำหรับการป้องกันก็มีอยู่สองส่วนนะคะ อย่างแรกก็ในเรื่องของอาหาร ก็จะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม แล้วก็ทานอาหารที่มีแคลเซียม แล้วก็มีวิตามินดีที่เพียงพอ ในส่วนของการออกกำลังกายเนี่ย

ความจริงแล้ว เราแนะนำให้เป็นการออกกำลังกายกลางแจ้งนะคะ โดยที่จะมีผลทางอ้อมด้วย ก็คือการที่เราได้รับวิตามินดีจากแสงแดดด้วยนั่นเองค่ะ การออกกำลังกายมีทั้งส่วนที่เป็นแอโรบิค แล้วก็ส่วนที่เป็นในเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เราก็เน้นว่าการออกกำลังกายเนี่ยต้องเน้นให้มีแรงกระแทก ที่กระดูกแล้วก็ข้อต่อ เพื่อให้มีการสร้างกระดูกได้ดีขึ้น สำหรับอาหารที่ควรเน้นสำหรับโรคนี้

ก็คือ ก็จะเป็นเรื่องของแคลเซียม ถ้าเป็นผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1000 มิลลิกรัมต่อวันนะคะ ส่วนอายุมากกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียมต่อวัน 1200 มิลลิกรัมค่ะ

🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾 🤾

Recommended Articles