รวมเรื่องของมาม่าที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

            วันนี้แอดมินจะมาพูดถึง รวมเรื่องของมาม่าที่เราไม่เคยรู้มาก่อน กันค่ะ แน่นอนว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักมาม่า หรือว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยอดนิยมของคนไทย ที่เราทุกคนแทบจะเคยกินมาแล้วทั้งนั้นค่ะ แล้วในวันนี้แอดมินก็จะมาพูดถึงเรื่องจริงที่เราไม่เคยรู้มาก่อนกันค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับมาม่าให้มากขึ้น แอดมินก็ต้องขอฝากให้ไปติดตาม เมนูขึ้นชื่อจากจีนแผ่นดินใหญ่ กันด้วยนะคะ แล้วในวันนี้แอดมินก็ต้องขอขอบคุณ Ufath168 ที่สนับสนุนบทความของเราในวันนี้ด้วยนะคะ ถ้าพร้อมแล้วเรรมาดูกันค่ะ

รวมเรื่องของมาม่าที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ความลับของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

            เรื่องแรกที่แอดมินจะพูดถึงเลยนะคะ ก็คือต้นกำเนิดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปค่ะ ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถือกำเนิดขึ้นมาโดย นายอันโด โมโมฟุกุ ซึ่งเขานั้นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทนิชชินนั่นเองค่ะ ซึ่งเขาเริ่มต้นจากการที่มีไอเดีย ที่อยากจะถนอมเส้นราเมนให้เก็บไว้ได้นานๆ จึงได้มีการเอาเส้นราเมนไปทอดในน้ำมันเพื่อไล่ความชื้นออก จากนั้นเมื่อเติมน้ำร้อนเข้าไป มันก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกครั้ง

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงถือกำเนิดขึ้นมา และพัฒนาต่อยอดกันมาเรื่อยๆ ส่วนในแง่ของมาม่านั้น เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2515 เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทเพรซิเดนท์เอ็นเตอร์ไพรส์จากประเทศไต้หวันกับบริษัทสหพันธ์พิบูลของประเทศไทยค่ะ ซึ่งในเวลานั้นมาม่า คือบะหมี่ครึ่งสำเร็จรูปที่เข้าสู่ตลาดช้ากว่ายี่ห้ออื่นๆ และเรื่องต่อมาที่เราไม่เคยดูก็คือชื่อของมาม่านั่นเองค่ะ ที่มาของชื่อมาม่า เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2515

เมื่อคุณเทียม โชควัฒนา ต้องการตั้งชื่อยี่ห้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นมา ซึ่งมันต้องเป็นคำที่สั้น เข้าใจง่าย และจดจำง่าย จึงได้ออกมาเป็นคำว่ามาม่า ที่หมายถึงคำว่าคุณแม่นั่นเองค่ะ และเป็นชื่อที่ฟังแล้ว เป็นมิตรกับผู้บริโภคโดยปริยาย อีกทั้งคำว่ามาม่านี้ ปัจจุบันก็แทบจะกลายเป็นนิยามที่ใช้เรียกแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปแล้ว เนื่องจากมีคนไทยจำนวนมาก ที่เรียกเหมารวมบะหมี่ครึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่ามาม่าไปแล้วล่ะค่ะ

และเรื่องต่อมาก็คือการรับรู้ของผู้บริโภคนะคะ สืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว ที่ผู้คนนิยมเรียกเหมารวมเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่ามาม่า และแม้ว่าฟังแล้วมันจะกลายเป็นเรื่องดี แต่ถ้าว่าความเป็นจริงก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากผู้บริโภคอาจจะให้ความสำคัญกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่ละยี่ห้อ อย่างเช่น ถ้าหากมียี่ห้อคู่แข่งของมาม่า ผลิตกลิ่นรสชาติที่เหมือนกันออกมา ออกแบบแพคเกจที่คล้ายกัน

ก็อาจจะทำให้ผู้บริโภคหยิบผิดได้ และตัวของผู้บริโภคเองว่าต่อให้รู้ว่าเค้าหยิบ ก็อาจจะไม่ได้ซีเรียสอะไรขนาดนั้น แล้วก็มองว่าแต่ละยี่ห้อไม่ได้แตกต่างกันอะไรมากนัก ทำให้สิ่งนี้กลายเป็นปัญหาอย่างมาก เมื่อต้องทำการตลาดและเมื่อมีการโปรโมทสินค้า คู่แข่งอาจจะได้ประโยชน์ร่วมไปด้วย ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแต่ละยี่ห้อจะไม่ออกรสชาติใหม่ที่ซ้ำคู่กับคู่แข่งพยายามออกแบบลวดลายของแพ็คเกจ

ให้แตกต่างกันมากขึ้น และรวมไปถึงการทำเส้นบะหมี่ให้แตกต่างกันด้วยค่ะ โดยหวังให้ผู้บริโภคจะได้แยกแยะ และให้ความสำคัญมากขึ้นนั่นเองค่ะ

🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜 🍜

Recommended Articles